วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. ประโยชน์ด้านการพิมพ์เอกสาร   การพิมพ์เอกสาร   เช่น  รายงาน หนังสือ  หนังสือพิมพ์    นิตยสาร    การ์ดวันเกิด   การ์ดอวยพรปีใหม่   ฯลฯ   ล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำทั้งสิ้นเพราะสามารถออกแบบได้สวยงามและประหยัดค่าใช่จ่ายในการพิมพ์
2.  ประโยชน์ด้านการคำนวณ   การคำนวณ  หมายถึง  การบวก ลบ คูณ หารหรือการหาคำตอบด้วยการคำนวณตัวเลข  ใช้มากในงานด้านบัญชี   การคำนวณราคาสินค้า  เช่น  เวลาที่นักเรียนไปซื้อสินค้าในร้านมินิมาร์ท  นักเรียนจะเห็นพนักงานเก็บเงินของร้านใช้เครื่องคำนวณราคาสินค้ารวมเงินค่าสินค้าให้เราและคิดเงินทอนให้อย่างสะดวกโดยใช้คอมพิวเตอร์
3.  ประโยชน์ด้านการศึกษา    นักเรียนคงเคยเห็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานด้านการเรียนการ สอนในหลายรูปแบบ  เช่น  การนำเสนอบทเรียน  การผลิตสื่อการสอนแบบผสม  การใช้ชีดีรอมสำหรับการเรียนรู้  เกมเพื่อการศึกษาหรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.  ประโยชน์ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ   เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนการออกแบบงานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์

5.  ประโยชน์ด้านความบันเทิง   เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง  เช่น  เล่นเกม  ฟังเพลง  ชมภาพยนต์เป็นต้น

ผลกระทบคอมพิวเตอร์

ผลกระทบจากคอมพิวเตอร์
  • ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต
    การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)
    การเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ

ความหมายของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

บทบาทของคอมพิวเตอร์

1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน
  • ทำทะเบียนบุคลากร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ
  • การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขั้น
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
  • ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด
5และสื่อสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ

6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภาระกิจประจำของธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง






   

ระดับของสารสนเทศ


ระดับของสารสนเทศ

1.  สารสนเทศระดับบุคคล เป็นระบบสารสนเทศขนาดเล็ก ทุกคนสามารถทำได้โดยทำการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.  สารสนเทศระดับกลุ่ม   เป็นสารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในระดับกลุ่มงานให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับกลุ่มงานต่างๆ เป็นต้น
3.  สารสนเทศระดับองค์กร เป็นสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานทั้งหน่วยงานหรือทั้งองค์กร ให้ทำงานต่างๆ สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้


การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมี3ขั้นตอน
เก็บรวบรวมข้อมูล  ประมวลผลข้อมูล   การดูแลรักษาข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล
1.การรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก
2.การตรวจสอบข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมมา
การประมวลผลข้อมูล
1.               การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทข้อมูล
2.               การจัดเรียงข้อมูล เป็นการประมวลผลข้อมูล
3.               การคำนวณ เป็นการประมวลผลลัพธ์
4.               การทำรายงาน  เป็นการสลับซับซ้อนมากสุด
การดูแลรักษา
1.               การจัดเก็บ  เป็นการนำข้อมูลมารวบรวมเก็บไว้
2.               การทำสำเนา  การเพิ่มข้อมูลในจำนวนมาก
3.               การแจกจ่าย  การนำสำเนามาเพิ่มไว้แจกจ่าย
4.               การปรับปรุง การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล
1.  สารสนเทศระดับบุคคล เป็นระบบสารสนเทศขนาดเล็ก ทุกคนสามารถทำได้โดยทำการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.  สารสนเทศระดับกลุ่ม   เป็นสารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในระดับกลุ่มงานให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับกลุ่มงานต่างๆ เป็นต้น
3.  สารสนเทศระดับองค์กร เป็นสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานทั้งหน่วยงานหรือทั้งองค์กร ให้ทำงานต่างๆ สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้


วิธีประมวลข้อมูล

วิธีการประมวลผลข้อมูล

วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ



ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง 
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.       แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)

2.       แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer  

ความสำคัญของเทคโนโลยี

 ความสำคัญของเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
                ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
                ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
                คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

    1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
        คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูล    
     2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
       การทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวด      
     3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
       คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง 
        4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
        คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาด 
         ของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้         

        5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล
ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล


1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็น
2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด
3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ
แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ
(3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)

(3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)
3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี
4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น2. ประโยชน์และโทษของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์จากการใช้คอม
ด้านการศีกษา : สร้างสื่อการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ศึกษาบทเรียนออนไลน์
ด้านความบันเทิง : สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงได้ เช่น เล่นเกมส์ ดูภาพยนตร์ ร้องเพลง ฟังเพลง เป็นต้น
ด้านติดต่อสื่อสาร : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ และยังสามารถสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้
ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยในเรื่องการออกแบบงาน สร้างงานกราฟิกได
ด้านการพิมพ์เอกสาร : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาสร้างงานด้านงานเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือนำเสนองานเป็นรูปเล่มได้