วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. ประโยชน์ด้านการพิมพ์เอกสาร   การพิมพ์เอกสาร   เช่น  รายงาน หนังสือ  หนังสือพิมพ์    นิตยสาร    การ์ดวันเกิด   การ์ดอวยพรปีใหม่   ฯลฯ   ล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำทั้งสิ้นเพราะสามารถออกแบบได้สวยงามและประหยัดค่าใช่จ่ายในการพิมพ์
2.  ประโยชน์ด้านการคำนวณ   การคำนวณ  หมายถึง  การบวก ลบ คูณ หารหรือการหาคำตอบด้วยการคำนวณตัวเลข  ใช้มากในงานด้านบัญชี   การคำนวณราคาสินค้า  เช่น  เวลาที่นักเรียนไปซื้อสินค้าในร้านมินิมาร์ท  นักเรียนจะเห็นพนักงานเก็บเงินของร้านใช้เครื่องคำนวณราคาสินค้ารวมเงินค่าสินค้าให้เราและคิดเงินทอนให้อย่างสะดวกโดยใช้คอมพิวเตอร์
3.  ประโยชน์ด้านการศึกษา    นักเรียนคงเคยเห็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานด้านการเรียนการ สอนในหลายรูปแบบ  เช่น  การนำเสนอบทเรียน  การผลิตสื่อการสอนแบบผสม  การใช้ชีดีรอมสำหรับการเรียนรู้  เกมเพื่อการศึกษาหรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.  ประโยชน์ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ   เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนการออกแบบงานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์

5.  ประโยชน์ด้านความบันเทิง   เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง  เช่น  เล่นเกม  ฟังเพลง  ชมภาพยนต์เป็นต้น

ผลกระทบคอมพิวเตอร์

ผลกระทบจากคอมพิวเตอร์
  • ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต
    การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)
    การเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ

ความหมายของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

บทบาทของคอมพิวเตอร์

1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน
  • ทำทะเบียนบุคลากร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ
  • การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขั้น
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
  • ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด
5และสื่อสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ

6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภาระกิจประจำของธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง






   

ระดับของสารสนเทศ


ระดับของสารสนเทศ

1.  สารสนเทศระดับบุคคล เป็นระบบสารสนเทศขนาดเล็ก ทุกคนสามารถทำได้โดยทำการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.  สารสนเทศระดับกลุ่ม   เป็นสารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในระดับกลุ่มงานให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับกลุ่มงานต่างๆ เป็นต้น
3.  สารสนเทศระดับองค์กร เป็นสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานทั้งหน่วยงานหรือทั้งองค์กร ให้ทำงานต่างๆ สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้


การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมี3ขั้นตอน
เก็บรวบรวมข้อมูล  ประมวลผลข้อมูล   การดูแลรักษาข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล
1.การรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก
2.การตรวจสอบข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมมา
การประมวลผลข้อมูล
1.               การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทข้อมูล
2.               การจัดเรียงข้อมูล เป็นการประมวลผลข้อมูล
3.               การคำนวณ เป็นการประมวลผลลัพธ์
4.               การทำรายงาน  เป็นการสลับซับซ้อนมากสุด
การดูแลรักษา
1.               การจัดเก็บ  เป็นการนำข้อมูลมารวบรวมเก็บไว้
2.               การทำสำเนา  การเพิ่มข้อมูลในจำนวนมาก
3.               การแจกจ่าย  การนำสำเนามาเพิ่มไว้แจกจ่าย
4.               การปรับปรุง การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล
1.  สารสนเทศระดับบุคคล เป็นระบบสารสนเทศขนาดเล็ก ทุกคนสามารถทำได้โดยทำการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.  สารสนเทศระดับกลุ่ม   เป็นสารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในระดับกลุ่มงานให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับกลุ่มงานต่างๆ เป็นต้น
3.  สารสนเทศระดับองค์กร เป็นสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานทั้งหน่วยงานหรือทั้งองค์กร ให้ทำงานต่างๆ สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้


วิธีประมวลข้อมูล

วิธีการประมวลผลข้อมูล

วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ